บทความ

28ก.ย.

Lab Grown Diamond คืออะไร เป็นเพชรแท้ หรือเพชรปลอมกันแน่?

บทความ | 4902 วิว

Lab Grown Diamond คืออะไร เป็นเพชรแท้ หรือเพชรปลอมกันแน่?

ปัจจุบันเพชรแท้ที่มาจากเหมืองเริ่มหาได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเพชรแท้จากเหมืองมีปริมาณที่จำกัด และต้องใช้เวลานับล้านปีในการถือกำเนิดขึ้น แต่ความต้องการเพชรแท้ในท้องตลาดนั้นเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นการสังเคราะห์เพชรขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ จนทำให้เกิด Lab Grown Diamond ซึ่งก็คือเพชรที่มาจากแล็บ หรือห้องปฏิบัติการนั่นเอง สำหรับใครที่สงสัยว่า Lab Grown Diamond คืออะไร เพชร Lab Grown มีลักษณะแบบไหน สร้างได้อย่างไร เรียกว่า Lab Grown Diamond เป็นเพชรแท้หรือเพชรปลอม  AURORA Diamond จะพาคุณไปหาคำตอบด้วยกันในบทความนี้

ทำความรู้จักกับ Lab Grown Diamond

ทำความรู้จักกับ Lab Grown Diamond

Lab Grown Diamond คือ เพชรสังเคราะห์จากห้องแล็บ หรือห้องปฏิบัติการที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเพชรที่ผลิตยังคงมีลักษณะทางแสง ทางเคมี และทางกายภาพเหมือนกับเพชรธรรมชาติ เพียงแต่ใช้เวลาในการกำเนิดที่สั้นกว่ามาก เพราะเพชรแท้ตามธรรมชาติใช้เวลาการกำเนิดมากกว่าล้านปี แต่เพชรสังเคราะห์จากห้องแล็บนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น 

กระบวนการสร้าง Lab Grown Diamond

กระบวนการสร้าง Lab Grown Diamond 

สำหรับการสร้าง Lab Grown Diamond หรือเพชร Lab Grown มีวิธีการสร้างอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การสร้าง Lab Grown Diamond โดยกระบวนการ HPHT และกระบวนการ CVD โดยวิธีการทั้ง 2 แบบมีกระบวนการดังต่อไปนี้

Lab Grown Diamond โดยกระบวนการ HPHT

Lab Grown Diamond หรือเพชรจากแล็บที่ใช้กระบวนการกำเนิดด้วยวิธี High Pressure-High Temperature (HPHT) สามารถทำได้ด้วยกัน 3 วิธี คือ เครื่องรีดสายพาน เครื่องลูกบาศก์ และเครื่องกดทรงกลม (BARS) โดยกระบวนการทั้ง 3 วิธีนี้ จะทำให้เกิดเพชรได้จากสภาพแวดล้อมที่มีความดัน และอุณหภูมิที่สูงมาก ซึ่งทำให้เพชรเจริญเติบโตได้ดีนั่นเอง จึงมีการเรียกเพชรที่ก่อกำเนิดด้วยวิธีการ HPHT ว่าเป็นเพชรเผา เพราะใช้เพชรธรรมชาติขนาดเล็กเป็นสารตั้งต้น แล้วนำมาวางไว้ในคาร์บอนอีกที จากนั้นใช้เครื่องรีดสายพาน เครื่องลูกบาศก์ หรือเครื่องกดทรงกลม (BARS) วิธีใดวิธีหนึ่ง และเผาเพชรจนมีอุณหภูมิที่สูงถึง 1,500 องศาเซลเซียสด้วยแรงดันประมาณ 1.5 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว คล้ายคลึงกับอุณภูมิและแรงดันใต้พิภพ เพื่อเผาให้คาร์บอนบริสุทธิ์ละลาย จนกระทั่งเริ่มก่อตัวเป็นเพชรรอบเม็ดตั้งต้น ในระหว่างนั้นจะมีการระบายความร้อนอย่างระมัดระวัง เพื่อเป็นการสร้างเพชรให้มีคาร์บอนที่บริสุทธิ์ต่อไปนั่นเอง

Lab Grown Diamond โดยกระบวนการ CVD

สำหรับเพชร Lab Grown Diamond หรือเพชรจากแล็บ ที่สร้างขึ้นด้วยวิธี CVD ก็เป็นเพชรจากแล็บเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างที่กระบวนการสร้าง โดยเพชร CVD ถูกสร้างขึ้นจากเพชรเม็ดบางๆ ซึ่งมักเป็นเพชรที่ผลิตด้วยวิธี HPHT หลังจากนั้นมีการนำเม็ดเพชรมาวางไว้ในห้องระบบปิด แล้วค่อยๆ เพิ่มความร้อนขึ้น จนได้อุณหภูมิความร้อนถึงประมาณ 800 องศาเซลเซียส ก่อนเติมก๊าซที่มีคาร์บอนสูงเข้าไป เช่น ก๊าซมีเทน และก๊าซอื่นๆ ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะถูกทำให้แตกตัว และกลายเป็นพลาสมาด้วยการใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกับการทำงานของคลื่นไมโครเวฟ หรือแสงเลเซอร์ จนก๊าซเหล่านี้แตกตัวเป็นไอออน และแบ่งพันธะโมเลกุลของก๊าซ จนคาร์บอนบริสุทธิ์ไปเกาะตัวกับเม็ดเพชรตั้งต้น และค่อยๆ ตกผลึกในเวลาต่อมา จนกระทั่งกลายเป็นเพชร Lab Grown แบบ CVD ในที่สุด

Lab Grown Diamond เป็นเพชรแท้ หรือเพชรปลอม

Lab Grown Diamond เป็นเพชรแท้ หรือเพชรปลอม

เพชร Lab Grown Diamond เป็นเพชรที่มีลักษณะทางกายภาพ และทางเคมีแบบเดียวกันกับเพชรธรรมชาติ แต่ไม่ถือว่าเป็นเพชรแท้จากธรรมชาติ เพราะการกำเนิดของเพชร Lab Grown แตกต่างจากเพชรธรรมชาติ กล่าวคือ เพชร Lab Grown ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยจำลองกระบวนการเกิดเพชร ซึ่งทำให้คุณสมบัติของเพชรอาจไม่ได้แตกต่างออกไปจากเพชรธรรมชาติ หากไม่มีไปเซอร์เพชรมาคอยรับรอง คนทั่วไปจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเพชร Lab Grown Diamond และเพชรแท้จากธรรมชาติออกจากกันได้เลย ทำให้อาจมีการนำเอาเพชรปลอม มาแอบอ้างเป็น เพชร Lab Grown ได้ง่ายมากขึ้น

ดังนั้น การเลือกเพชร Lab Grown อาจต้องพิจารณาให้ดี เนื่องจากยังคงมีเงื่อนไขบางประการอยู่ เช่น การรับรองของสถาบันเพชรที่ไม่หลากหลาย หากไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ อาจได้เป็นเพชรปลอมที่หลอกว่าเป็นเพชร Lab Grown รวมถึงแหล่งกำเนิดของเพชรที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ แต่เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณค่าของเพชรที่เพชรควรจะมีนั้นลดลง 

ความต่างระหว่างเพชรธรรมชาติ กับเพชร Lab Grown

ความต่างระหว่างเพชรธรรมชาติ กับเพชร Lab Grown 

เพชร Lab Grown ต่างจากเพชรธรรมชาติ เพราะแหล่งที่มาแตกต่างกัน โดยเพชรแท้ธรรมชาติเกิดจากกระบวนการทางเคมี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแรงดันใต้ผิวโลกที่ลึกกว่า 150-200 กิโลเมตร โดยใช้เวลานานมากถึงหลายล้านปีจึงก่อกำเนิดขึ้นมาได้ ก่อนที่เราจะขุดเพชรขึ้นมาทำการเจียระไน และขัดตกแต่งจนสวยงามแบบในปัจจุบัน ส่วนเพชร Lab Grown เป็นเพชรที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยสร้างขึ้นมา โดยใช้การจำลองการเกิดผลึกแบบเดียวกันที่เกิดในธรรมชาติ แต่นำมาสร้างในห้องทดลอง ทำให้ช่วยร่นระยะเวลาในการก่อกำเนิดเพชรจากหลายล้านปี เหลือเพียง 1-2 เดือน ก่อนนำมาเจียระไนต่อไป ทำให้เราไม่สามารถแยกเพชร Lab Grown และเพชรธรรมชาติออกจากกันด้วยตาเปล่าได้ ยกเว้นการตรวจธาตุไนโตรเจน (N) ในห้องแล็บมาเป็นข้อพิสูจน์ เพราะเพชรแท้ธรรมชาติจะมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แต่เพชร Lab Grown ไม่มีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจนเลย

ข้อดีและข้อเสียของ Lab Grown Diamond

Lab Grown Diamond ไม่ว่าจะก่อกำเนิดขึ้นด้วยวิธีการ HPHT หรือวิธีการ CVD ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียอยู่เช่นกัน โดย Lab Grown Diamond มีข้อดี และข้อเสียดังต่อไปนี้

ข้อดีของ Lab Grown Diamond

แม้ว่า Lab Grown Diamond เป็นเพชรจากแล็บ แต่ก็มีข้อดีที่คล้ายกับเพชรจากเหมือง ดังนี้

  • มีคุณสมบัติภายนอกเหมือนกับเพชรตามธรรมชาติ

  • ราคาถูกกว่าเพชรธรรมชาติ 50-70%

  • ใช้หลัก 4Cs จากสถาบัน GIA ในการตรวจคัดได้ตามปกติ

ข้อเสียของ Lab Grown Diamond

Lab Grown Diamond เป็นเพชรจากแล็บ เมื่อนำมาเทียบกับเพชรจากเหมือง จึงอาจพบข้อเสีย ดังนี้

  • การที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ จึงไม่ถือว่าเป็นเพชรแท้ธรรมชาติ

  • เพชรที่ได้จากแล็บจะไม่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุไนโตรเจนเลย

  • มูลค่าของเพชรลดลงเรื่อยๆ เพราะมีการผลิตเพชรสังเคราะห์ออกมาได้ในราคาถูกลงเรื่อยๆ

  • ต้องดูสถาบันที่ออกใบเซอร์ให้เป็นพิเศษ เพราะอาจได้เพชรปลอมที่สวมรอยบอกว่าเป็นเพชร Lab Grown

  • ใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก เพราะต้องใช้ความร้อนมหาศาลในการผลิตเพชร

Lab Grown Diamond ซื้อขายได้หรือไม่

Lab Grown Diamond ซื้อขายได้หรือไม่

Lab Grown Diamond ขายได้ไหม? คำตอบคือ ขายได้ แต่ไม่ว่า Lab Grown Diamond หรือเพชรธรรมชาติ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการซื้อขายเพชร คือ ใบเซอร์เพชร เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าเพชรที่คุณซื้อมามีคุณภาพสอดคล้องกับมูลค่าที่ซื้อขาย นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้อ้างอิงเพื่อการซื้อขายต่ออย่างถูกต้องได้อีกด้วย โดยราคาของ Lab Grown Diamond มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการในท้องตลาดมีการเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาขายต่อของเพชรธรรมชาติกลับมีราคาขายต่อสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเพชรธรรมชาติจากเหมืองหาได้ยากมากขึ้น และยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดเพชร ทำให้การเลือกซื้อเพชรแท้จากธรรมชาติ ย่อมดีกว่าการซื้อเพชร Lab Grown โดยเฉพาะในแง่ของคุณค่าทางจิตใจ และมูลค่าที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว

ใบเซอร์ที่รับรองเพชร Lab Grown

ใบเซอร์ที่รับรองเพชร Lab Grown 

ใบเซอร์รับรองเพชรมีความสำคัญมากในการซื้อเพชร อย่างไรก็ตาม ใบเซอร์ที่ได้รับรองจากแต่ละสถาบัน ก็มีความแตกต่างกัน และใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดแยกที่มาของเพชรได้แตกต่างกัน สำหรับเพชรแท้ Lab Grown Diamond นั้นได้รับการรับรองจากสถาบัน GIA และการประเมินด้วย 4Cs เหมือนกันกับเพชรแท้ทุกประการ ส่วนเพชรที่ได้รับใบเซอร์จาก De Beers จะเป็นเพชรที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ไม่มี Lab Grown Diamond ปนแน่นอน เพราะ De Beers ไม่ได้รับรองเพชร Lab Grown Diamond เหมือนกันสถาบันอื่นๆ เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการซื้อเพชรแท้จากเหมืองเอาไว้เก็บสะสม หรือเก็งกำไรในอนาคต การเลือกซื้อเพชรที่ได้รับใบเซอร์จาก De Beers จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแยกเพชรแท้จากเหมือง และเพชรแท้ Lab Grown Diamond  ได้เป็นอย่างดี

 

เพชรแท้ที่ทำมาจากแล็บ หรือ Lab Grown Diamond สร้างขึ้นจากกระบวนการ HPHT และ CVD โดยแหล่งที่มาของเพชร Lab Grown มีความแตกต่างจากเพชรธรรมชาติตรงที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการผลิตเพชร ซึ่งทั่วไปแล้วไม่เราสามารถแยกเพชร Lab Grown ออกจากเพชรธรรมชาติด้วยตาเปล่าได้เลย วิธีการที่จะแยกเพชรทั้งสองชนิดออกจากกันได้ คือ การตรวจหาค่าไนโตรเจนในห้องแล็บ ซึ่งธาตุไนโตรเจนสามารถพบได้ในเพชรแท้จากธรรมชาติเท่านั้น หรือการตรวจสอบจากใบรับรองเพชร เพื่อยืนยันว่าเป็นเพชรจากแล็บ หรือเพชรแท้จากธรรมชาตินั่นเอง

หากคุณกำลังมองหาเครื่องประดับเพชรแท้จากธรรมชาติ ดีไซน์ทันสมัย บริการหลังการขายดีเยี่ยม AURORA Diamond มีเครื่องประดับที่ทำจากเพชรแท้จากธรรมชาติหลายประเภท ดีไซน์สวยงาม โดดเด่นลงตัว ไม่ต้องกังวลกังวลคุณภาพ เพราะมีใบรับรองเพชรจากสถาบัน De Beers ที่ทำให้คุณมั่นใจว่าจะได้เพชรแท้ธรรมชาติจากเหมืองใต้พิภพ อีกทั้งยังมีบริการตรวจเช็กสภาพเพชร และบริการทำความสะอาดตลอดอายุการใช้งาน

tags

Facebook Messenger
Line