บทความ

27ต.ค.

กะรัตเพชรคืออะไร ขนาดเพชรสำคัญแค่ไหน รวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อเพชร

บทความ | 1361 วิว

กะรัตเพชรคืออะไร ขนาดเพชรสำคัญแค่ไหน รวมสิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อเพชร

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ และสนใจซื้อเครื่องประดับเพชร นอกจากการเลือกดีไซน์เครื่องประดับเพชรที่สวยงามแล้ว กะรัตของเพชร ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณต้องพิจารณา เพราะกะรัตเพชรเป็นตัวแปรหลักที่มีส่วนในการกำหนดคุณภาพของเพชร และยังส่งผลต่อราคาของเครื่องประดับเพชรโดยตรง สังเกตได้ว่าเครื่องประดับเพชรที่มีกะรัตสูง ก็ย่อมมีราคาที่แพงมากขึ้นตามไปด้วย

เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัย และอยากมีความรู้ที่เพียงพอ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อกะรัตเพชรที่เหมาะสม และคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป บทความนี้ AURORA Diamond จะพาคุณไปรู้จักกับกะรัตเพชร และเข้าใจวิธีการเลือกกะรัตเพชรได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้คุณได้เครื่องประดับเพชรที่ตรงตามความต้องการ และอยู่ในงบประมาณที่คุณกำหนดเอาไว้สำหรับซื้อเครื่องประดับเพชรอีกด้วย

ทำความรู้จัก กะรัตเพชร คืออะไร

ทำความรู้จัก กะรัตเพชร คืออะไร


การเลือกคุณภาพของเพชรต้องพิจารณาจาก 4C หรือปัจจัยสำคัญทั้ง 4 หัวข้อ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อดังกล่าวนั้นได้แก่ Carat หรือกะรัต คือ หน่วยวัดน้ำหนักของเพชร ดังนั้น เวลาที่มีคนถามว่าใช้เพชรกี่กะรัต จึงหมายถึงว่าต้องการใช้เพชรที่มีน้ำหนักเท่าไร ในขณะเดียวกัน หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเพชร 1 กะรัตเท่ากับกี่กรัม ซึ่งน้ำหนักของเพชร 1 กะรัต เมื่อแปลงให้อยู่ในหน่วยกรัมจะเท่ากับ 0.2 กรัม หรือ 200 มิลลิกรัม

กะรัตเพชร หมายถึง น้ำหนักของเพชรในแต่ละเม็ด ไม่ได้หมายถึงน้ำหนักโดยรวมของเพชรทุกเม็ดในเครื่องประดับเพชร เช่น แหวนเพชรเม็ดเดี่ยว 1 กะรัต มีราคาที่สูงกว่า แหวนเพชรเม็ดเล็ก 0.5 กะรัตรวมกัน 2 เม็ด ดังนั้น ต้องดูให้ดีว่า จำนวนกะรัตของเพชรที่ระบุเอาไว้บนเครื่องประดับคือกะรัตเพชรเม็ดเดี่ยวแต่ละเม็ด หรือกะรัตโดยรวม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนได้ง่าย

กะรัตเพชรถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดใน 4C สำหรับการกำหนดคุณภาพของเพชร แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ใน 4C อย่าง Color สีของเพชร Clarity ความสะอาดของเพชร และ Cutting ลักษณะการเจียระไนของเพชร ก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกันในการพิจารณาเพื่อดูว่าคุณภาพของเพชรดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไร นอกจากนี้ กะรัตเพชรยังมีผลต่อการกำหนดราคาของเครื่องประดับเพชร หากยิ่งเลือกใช้เพชรที่มีค่ากะรัตสูง ซึ่งหมายถึงมีน้ำหนักเพชรมาก ก็จะยิ่งมีราคา หรือมูลค่าที่สูงมากขึ้นตามไปด้วย 

 

ความแตกต่างของกะรัต กับสตางค์

ความแตกต่างของกะรัต กับสตางค์


เมื่อคิดคำนวณกะรัตเพชรออกมาแล้วยังมีเศษทศนิยม ส่วนใหญ่เศษทศนิยมจะถูกแปลงเป็นหน่วยสตางค์ หรือหน่วยตังค์ ซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กลงมา เช่นเดียวกับทองคำ ที่แม้จะมีหน่วยหลักเป็นบาท แต่จะมีหน่วยย่อยเป็นสลึง รวมไปถึงสกุลเงินของไทย ที่มีหน่วยหลักเป็นบาท และจะมีหน่วยย่อยเป็นหน่วยสตางค์ 

อย่างที่เราทราบกันดีว่า ทองคำ 1 บาท มีมูลค่าเท่ากับ 4 สลึง ส่วนเงิน 1 บาท จะมีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ แล้วเพชร 1 กะรัตเท่ากับกี่ตังค์กันแน่ คำตอบคือเพชร 1 กะรัต มีน้ำหนักเทียบเท่ากับ 100 สตางค์ คล้ายกับหน่วยของเงินบาทเลย

หากต้องการแปลงเพชรในหน่วยสตางค์ให้เป็นหน่วยกรัม สามารถคำนวณได้จาก เพชร 1 กรัม มีน้ำหนัก 200 มิลลิกรัม หรือ 0.2 กรัม ดังนั้น เพชร 1 สตางค์ที่มีค่าเทียบเท่ากับเพชร 0.01 กะรัต ก็จะมีน้ำหนัก 0.002 กรัม หรือ 2 มิลลิกรัมนั่นเอง เครื่องประดับเพชรบางชนิดก็จะเลือกใช้เพชรที่เป็นหน่วยสตางค์ โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ต้องการเน้นความเรียบง่าย ดีไซน์แบบมินิมอล รวมไปถึงเครื่องประดับเพชรที่มีขนาดเล็ก เช่น แหวนเพชร ต่างหูเพชร และจี้เพชร เป็นต้น ดังนั้น การเลือกใช้เพชร 5 ตังค์หรือ 10 ตังค์ อาจเหมาะกับดีไซน์ของเครื่องประดับมากกว่า และยังมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป 

กะรัตเพชรยิ่งมาก ขนาดเพชรยิ่งใหญ่จริงหรือไม่

กะรัตเพชรยิ่งมาก ขนาดเพชรยิ่งใหญ่จริงหรือไม่


เพชร 1 กะรัต ขนาดจะใหญ่แค่ไหน ต้องบอกเลยว่าน้ำหนักเพชร และขนาดเพชร เป็นสิ่งที่หลายคนมักสับสน และเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันเสมอ ทำให้หลายคนคิดว่าถ้าอยากได้เพชรที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องเลือกเพชรที่มีกะรัตมาก ซึ่งถือเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากน้ำหนักของเพชร หรือกะรัตเพชร เป็นการดูจากปริมาณของเพชรที่อยู่ภายในเพชรแต่ละเม็ด ในขณะที่ขนาดของเพชรขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง ความกว้าง หรือความยาวบนหน้าตัดพื้นผิวของเพชรทั้งเม็ด เพราะฉะนั้นต่อให้เพชร 2 เม็ดที่มีน้ำหนักเท่ากันก็อาจจะมีขนาดเพชรที่แตกต่างกันได้ด้วยเช่นกัน

ขนาดเพชรที่มีความแตกต่างกัน มักเกิดจากขั้นตอนของการเจียระไนเพชรให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม หรือทรงเหลี่ยม เป็นต้น ด้วยรูปทรงที่มีความแตกต่างกันนี้ ทำให้เพชรมีสัดส่วน และขนาดที่ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ คุณภาพในการเจียระไนก็ส่งผลต่อขนาดของเพชรด้วย อย่างกรณีที่เจียระไนเพชรออกมาแล้ว บริเวณก้นมีความลึก หรือขอบหนาจนเกินไป ก็จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักเพชรโดยไม่จำเป็นได้ ตัวอย่างเช่น เพชร 2 กะรัต ถ้าเจียระไนออกมาไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมก็จะทำให้มีขนาดเล็กเทียบเท่ากับเพชร 1.5 กะรัตได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ต้องเลือกเพชรที่มีการเจียระไนอย่างมีคุณภาพ เพราะราคา หรือมูลค่าของเพชรที่คุณต้องจ่าย ขึ้นอยู่กับน้ำหนักกะรัตเพชรเป็นหลัก เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากจ่ายราคาแพง เพื่อให้ได้เพชรที่มีขนาดเล็กไม่สมกับราคากันอยู่แล้ว 

วิธีการคำนวณกะรัตเพชรง่ายๆ ด้วยตัวเอง

วิธีการคำนวณกะรัตเพชรง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การประเมินด้วยตาเปล่าคงไม่ทำให้คุณรู้แน่ชัดว่าเพชรดังกล่าวมีกี่กะรัตกันแน่ อีกทั้งยังไม่สามารถรู้ได้ด้วยว่ากะรัตเพชรที่ระบุเอาไว้จะตรงตามความเป็นจริงแค่ไหน ดังนั้น จึงต้องอาศัยการคำนวณกะรัตเพชรด้วยวิธีต่างๆ ที่ให้ค่าใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพื่อช่วยให้ประเมินน้ำหนักของเพชรก่อนตัดสินใจเลือกซื้อได้ดียิ่งขึ้น โดยการคำนวณกะรัตเพชรนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 2 วิธี คือ 1. วิธีคำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด เพื่อนำมาใช้สูตรคำนวณเฉพาะ และ 2. วิธีคำนวณกะรัตเพชรด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการความแม่นยำในการคำนวณกะรัตเพชรมากขึ้น
 

คำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด

การคำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด สามารถทำได้ง่าย และสะดวกอย่างมาก ในกรณีที่คุณไม่ได้มีเครื่องชั่งน้ำหนักเพชร โดยใช้การวัดทั้งขนาด และเส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร เพื่อนำมาใช้คำนวณด้วยสูตร ทำให้คุณคาดคะเนค่าน้ำหนัก หรือกะรัตของเพชรออกมาได้ทันที ทั้งนี้ต้องดูให้แน่ชัดว่าเพชรดังกล่าวมีรูปทรงแบบใด เนื่องจากเพชรแต่ละรูปทรงมีการวัดขนาด และมีสูตรคำนวณที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งรูปทรงของเพชรออกได้เป็นเพชรทรงกลม และทรงเหลี่ยม ดังนี้
 

เพชรทรงกลม

เพชรทรงกลมมีรูปทรงแบบกลม ดังนั้น จึงต้องใช้การวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง และความลึกของเพชร โดยเส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร เป็นการวัดระยะเส้นตรงที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางของวงกลม เริ่มต้นจากเส้นรอบวงด้านหนึ่ง เพื่อไปบรรจบกับเส้นรอบวงอีกด้านหนึ่ง และมีการใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร  ในขณะที่ความลึกของเพชร จะเป็นการวัดระยะแนวตั้ง หรือความสูงของพื้นผิวที่อยู่ด้านบนสุดของเพชร ไปจนถึงจุดด้านล่างสุดของเพชร และมีการใช้หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรด้วยเช่นกัน เมื่อทราบค่าการวัดทั้ง 2 ค่าแล้ว ก็จะนำมาคำนวณผ่านสูตรเฉพาะสำหรับเพชรทรงกลม ดังนี้ 

  1. กะรัตเพชร (เพชรทรงกลม)  = เส้นผ่าศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) x เส้นผ่าศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) x ความลึก (มิลลิเมตร) x 0.006

  2. เส้นผ่าศูนย์กลางของเพชร วัดได้จากเส้นตรงที่พาดผ่านจุดกึ่งกลางของเพชรทรงกลม โดยเริ่มวัดจากจุดรอบนอกจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และใช้หน่วยมิลลิเมตรในการวัด

  3. ความลึกของเพชร หรือ ความสูงทั้งหมดของเพชร โดยเป็นความสูงแนวตั้งจากพื้นผิวด้านบนของเพชร ไปจนถึงจุดล่างสุด

ยกตัวอย่าง เพชรที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร และมีความลึก 2 มิลลิเมตร จะมีกะรัตเพชร = 5 X 5 X 2 X 0.006 = 0.3 กะรัต
 

เพชรทรงเหลี่ยม

ในขณะที่เพชรทรงเหลี่ยมแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือแม้กระทั่งทรงเหลี่ยมที่มีชื่อเฉพาะอย่าง Emerald, Asscher และ Princess ซึ่งทุกรูปทรงเพชรที่จัดอยู่ในแบบเพชรทรงเหลี่ยมจะใช้สูตรคำนวณกะรัตเพชรเดียวกัน ดังนี้

  1. กะรัตเพชร (เพชรทรงเหลี่ยม) = ความยาว (มิลลิเมตร)  x ความกว้าง (มิลลิเมตร) x ความลึก (มิลลิเมตร) x ค่าสัมประสิทธิ์

  2. ความยาว และความกว้างของเพชร เป็นการวัดขนาดโดยรอบของขอบเพชรที่อยู่ด้านนอกในแต่ละด้าน 

  3. ส่วนความลึกของเพชร เป็นการวัดระยะแนวตั้งจากพื้นผิวด้านบนสุดไปจนถึงจุดที่อยู่ด้านล่างสุดของเพชร

  4. ค่าสัมประสิทธิ์ เป็นค่าที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับการคำนวณกะรัตเพชรให้กับเพชรทรงเหลี่ยม โดยค่าสัมประสิทธิ์จะแตกต่างกันออกไปตามรูปทรงของเพชรในแต่ละแบบ แต่หากคุณไม่มั่นใจว่ารูปทรงของเพชรดังกล่าวเป็นแบบไหน ก็สามารถทำได้ด้วยการหาสัดส่วน หรืออัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้างของเพชร เมื่อได้อัตราส่วนออกมาแล้วก็สามารถนำไปเทียบเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ที่ใกล้เคียงในการคำนวณได้ ดังนี้

  • อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 1.25 จะมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.0080

  • อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 1.50 จะมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.0090

  • อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 2.00 จะมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.0100

  • อัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง 2.50 จะมีค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.0105

ยกตัวอย่าง สำหรับเพชรรูปทรงเหลี่ยม ที่มีความยาว 4 มิลลิเมตร ความกว้าง 3.2 มิลลิเมตร ความลึก 2 มิลลิเมตร จะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างอยู่ที่ 4/3.2 = 1.25 เมื่อเทียบหาค่าสัมประสิทธิ์จะพบว่ามีค่า 0.008 เมื่อนำมาคำนวณด้วยสูตรสำหรับเพชรทรงเหลี่ยมจะเท่ากับ 4 X 3.2 X 2 X 0.008 = 0.2048 กะรัต หรือ 20.48 สตางค์นั่นเอง 

หากคำนวณอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างออกมาแล้วไม่ได้ค่าที่ตรงตามข้างต้นก็สามารถเลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีความใกล้เคียงกับอัตราส่วนที่สุด เช่น หากอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของเพชรนั้น เท่ากับ 1.7 ก็ให้เลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์ 0.0090 เพราะมีความใกล้เคียงมากที่สุด

การคำนวณกะรัตเพชรด้วยการวัด ถึงแม้ว่าจะสะดวก และทำได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องชั่งน้ำหนักเพชร แต่การวัดถือเป็นการคำนวณกะรัตโดยการคาดคะเน หรือประมาณการณ์ จึงทำให้ได้ตัวเลขกะรัตเพชรแบบคร่าวๆ ซึ่งไม่ได้มีความถูกต้องแม่นยำ 100% ดังนั้น อาจทำให้มีโอกาสคลาดเคลื่อน หรือผิดพลาดไปจากความเป็นจริงได้ 

ด้วยเหตุนี้ หากคุณต้องการตัวเลขที่แน่นอน ก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องชั่งน้ำหนักในการคำนวณค่ากะรัต ซึ่งจะช่วยให้ได้ค่ากะรัตเพชรที่มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น และคลาดเคลื่อนน้อยลงไปด้วย
 

คำนวณกะรัตด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก

สำหรับคนที่ต้องการคำนวณกะรัตเพชรให้มีความถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มเติม อย่างเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีความแม่นยำสูง โดยจะชั่งน้ำหนักของเพชรออกมาเป็นหน่วยกรัม เพื่อนำไปเทียบออกมาเป็นหน่วยกะรัต ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. ชั่งเพชรด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก นำเพชรที่คุณต้องการคำนวณกะรัตเพชรไปวางบนเครื่องชั่ง ซึ่งเครื่องชั่งน้ำหนักที่คุณเลือกใช้ควรมีความแม่นยำ และเป็นแบบที่มีความไวสูง (Sensitivity) และที่สำคัญต้องมีความละเอียด สามารถชั่งน้ำหนักออกมาได้เป็นหน่วยที่เล็กลงอย่างเช่น หน่วยมิลลิกรัม 

  2. จดตัวเลขน้ำหนักที่ได้จากเครื่องชั่งอย่างละเอียด การบันทึกตัวเลขน้ำหนักของเพชรที่ได้จากเครื่องชั่ง ต้องจดให้ครบทุกตัวเลข หากเป็นหน่วยกรัมก็ต้องจดให้ครบทุกจุดทศนิยม เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้

  3. คำนวณกะรัตจากน้ำหนักที่ได้จากเครื่องชั่ง จากการวัดค่าน้ำหนักของเพชรระหว่างกะรัต และหน่วยกรัม เพชร 1 กะรัต มีน้ำหนักเท่ากับ 0.2 กรัม หรือ 200 มิลลิกรัม ดังนั้น ต้องนำน้ำหนักของเพชรที่ชั่งได้มาหารด้วยตัวเลขดังกล่าว โดยถ้าตัวเลขน้ำหนักที่คุณชั่งได้เป็นหน่วยกรัม ก็ให้หารน้ำหนักที่ชั่งได้ด้วย 0.2 แต่ถ้าเครื่องชั่งน้ำหนักดังกล่าวมีความละเอียดมาก สามารถชั่งได้ถึงระดับหน่วยมิลลิกรัม ก็หารตัวเลขที่ได้ด้วย 200  ยกตัวอย่างเช่น

  • เพชรที่วัดจากเครื่องชั่งน้ำหนัก 1 กรัม จะวัดหน่วยกะรัตเพชรได้ 1  หาร 0.2 ได้เท่ากับ 5 กะรัต 

  • เพชรที่วัดจากเครื่องชั่งน้ำหนัก 300 มิลลิกรัม จะวัดหน่วยกะรัตของเพชรได้ 300 หาร 200 ได้เท่ากับ 1.5 กะรัต

  1. คำนวณหน่วยสตางค์ หากหน่วยน้ำหนักของเพชรที่ชั่งออกมาได้นั้นมีเศษทศนิยม ก็ควรนำมาแปลงให้เป็นหน่วยสตางค์ เพื่อช่วยให้คุณสามารถระบุน้ำหนักของเพชรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เนื่องจาก เพชร 1 กะรัต เท่ากับ 100 สตางค์ ดังนั้น คุณจึงสามารถนำเศษเลขทศนิยมมาคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้หน่วยสตางค์ของเพชร ยกตัวอย่างเช่น เพชร 150 มิลลิกรัม เมื่อแปลงให้เป็นหน่วยกะรัต จะได้ 150 หาร 200 ได้ 0.75 กะรัต ซึ่งเมื่อนำเศษตัวเลขหลังจุดทศนิยมไปคูณด้วย 100 ก็จะได้ 75 สตางค์  

  2. ต้องระบุหน่วยกะรัต และสตางค์ให้เหมาะสม ถ้าหากน้ำหนักของเพชรดังกล่าวนั้นไม่ใช่ตัวเลขกลมๆ แบบจำนวนเต็ม หรือในบางครั้งมีเศษทศนิยม ก็ควรระบุหน่วยกะรัต และหน่วยสตางค์แยกกันเพื่อความชัดเจน เช่น ถ้าเพชรมีน้ำหนัก 1.39 กะรัต ก็อาจเรียกว่า เพชร 1 กะรัต 39 สตางค์ก็ได้ เพื่อทำให้คุณสามารถอธิบายกับร้านขายเครื่องประดับเพชรได้อย่างเข้าใจตรงกันมากขึ้น 

กะรัตเพชรสำคัญอย่างไร เลือกแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

กะรัตเพชรสำคัญอย่างไร เลือกแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

เครื่องประดับเพชรเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะความเปล่งประกายของเพชรสามารถเสริมสร้างความสดใส อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่สวมใส่ได้ แต่ก็ไม่ใช่เครื่องประดับเพชรทุกชิ้นที่จะทำให้คุณใส่แล้วดูสวยงามโดยทันที เพราะยังมีเรื่องสำคัญที่คุณต้องพิจารณาไม่ว่าจะเป็นการเจียระไน การใช้เทคนิคในการผลิต และดีไซน์ขนาดของเครื่องประดับ ที่จะทำให้กะรัตเพชรดังกล่าวที่คุณเลือก เข้ากับเครื่องแต่งกาย เหมาะสมกับรูปร่าง หรือบุคลิกของคุณ และต้องมีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปอีกด้วย มาดูกันว่า ทำอย่างไรถึงจะสามารถเลือกกะรัตเพชรให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด 

เลือกจากการเจียระไน

อย่างที่ Aurora Diamond ได้บอกกันไปแล้วว่า การเจียระไนเพชรนั้นส่งผลอย่างมากต่อคุณภาพของเพชร ดังนั้นบางครั้งเพชรที่คุณเลือกมา ถึงแม้ว่าจะเป็นเพชรหลายกะรัต แต่ถ้าหากมีการเจียระไนที่ไม่ดี ก็จะทำให้เพชรดังกล่าวไม่สามารถส่องประกายความงดงามได้อย่างเต็มที่ ทำให้คุณต้องจ่ายเพชรในราคาที่แพงตามน้ำหนักหรือกะรัต แต่กลับได้เพชรที่ไม่สามารถใส่แล้วดูโดดเด่นได้ 

  • หน้าเพชร (Table) การเจียระไนเพชรที่ดีจะทำให้ได้เพชรที่มีสัดส่วนเหมาะสม โดยสัดส่วนของเพชรจะประกอบไปด้วย หน้าเพชรที่เป็นส่วนบนสุด และเป็นส่วนที่กว้างที่สุด โดยทุกคนจะสังเกตเห็นเนื้อเพชรด้านในจากส่วนนี้ หน้าเพชรจึงไม่ควรกว้าง หรือแคบจนเกินไป

  • ส่วนครึ่งบน (Crown) เป็นส่วนด้านบนของเพชร มีมุมองศาที่เกิดขึ้นจากการเจียระไนเพชร  ถ้าตื้นเกินไปก็จะมีประกาย หรือสะท้อนแสงไฟได้น้อยลง แต่ถ้าลึกเกินไปก็จะทำให้เพชรดูมีขนาดเล็กกว่าที่ควรจะเป็น และยังมีน้ำหนักเพชร หรือกะรัตเพชรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องจ่ายเงินมากขึ้นตามมา

  • ขอบเพชร (Girdle) มีผลต่อความคงทนของเพชร ถ้าบางเกินไป เพชรอาจเกิดการบิ่น หรือแตกหักได้ง่าย แต่ถ้าหนาเกินไป อาจทำให้เกิดแสงสะท้อนเป็นสีเทาด้านใน จนเพชรดูหมองไม่มีประกายด้วยเช่นกัน จึงควรต้องเลือกขอบเพชรที่มีความพอดี

  • ส่วนครึ่งล่าง (Pavillion) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของเพชร หรือส่วนที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงขึ้นไปด้านบน อีกทั้งยังเกิดการกระเจิงแสงสีรุ้งขึ้นที่บริเวณนี้ ต้องเลือกที่มีความลึก และความตื้นแบบพอดี เพราะถ้ามีความลึกมากเกินไป อาจทำให้แสงหักเหออกด้านข้างไม่เกิดการสะท้อนกลับขึ้นมา ทำให้ตรงกึ่งกลางของเพชรดูมืด แต่ถ้าหากมีความตื้นเกินไปก็อาจทำให้แสงนั้นสะท้อนได้ไม่เต็มที่ ทำให้ประกายแสงมีความไม่สม่ำเสมอ มองดูแล้วคล้ายกับตาปลา (Fish Eye)

  • ก้นเพชร (Culet) เป็นจุดด้านล่างสุดของเพชร มีลักษณะเป็นมุมแหลม ทำหน้าที่ป้องกันรอยขีดข่วน และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นบนเพชร แต่ในส่วนนี้จะไม่มีการสะท้อนแสง จึงไม่ควรเลือกที่มีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ดูเหมือนรูดำในเพชรได้ ถือเป็นส่วนที่จะมี หรือไม่มีก็ได้ในเพชร

เมื่อได้สัดส่วนของเพชรที่สมบูรณ์แล้ว ก็ย่อมทำให้เพชรดังกล่าวมีประกายที่งดงาม หมุนไปมุมไหนก็มีความแวววาว ในปัจจุบันมีการวัด และตัดเกรดประกายความงดงามของเพชร ด้วยลักษณะ 3 อย่างของเพชร ได้แก่ 

  1. ประกาย (Brilliance) ความสว่างจากแสงสีขาวที่สะท้อนเจิดจ้าออกมาจากพื้นผิวภายใน และภายนอกของตัวเพชร

  2. ความแวววาว (Sparkle) ความแวววาวอันน่าทึ่ง ที่เกิดจากการสะท้อนกันไปมาของแสงภายในตัวเพชร และพุ่งออกมาขณะที่เพชรเคลื่อนที่

  3. ไฟ (Fire) แสงไฟที่เกิดจากการบิดตัวของแสงภายในเพชร โดยมีลักษณะให้เห็นเป็น “สีรุ้ง”

  4. ความสมมาตรของแสง (Light Symmetry) คือ การกระจายตัวของแสงทั่วทั้งเพชรจากการเจียระไน โดยมีลักษณะให้เห็นเป็นรูปหัวใจ หรือรูปลูกศร

 

คุณสมบัติโดดเด่นทั้ง 3 ลักษณะข้างต้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากยังไม่มั่นใจ ปัจจุบันยังมีสถาบันชื่อดังระดับโลกที่ออกใบรับรอง หรือใบเซอร์เพชร เพื่อรับประกันคุณภาพของเพชร และยังทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเพชรที่ใช้เป็นเพชรแท้จากธรรมชาติ

ตัวอย่างเช่น แหวนเพชรเม็ดเดี่ยว LEVA COLLECTION (DVUL275) ที่เลือกใช้เพชรเปล่งประกายในระดับ Ultimate Light Performance กระเจิงแสงไฟได้สวยงาม มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อีกทั้งยังมีการการันตีด้วยใบเซอร์จากสถาบันชื่อดังระดับโลกถึง 3 แห่ง ได้แก่ De Beers Institute of Diamond, Sarine และ AURORA Diamond
 

เลือกขนาดเพชรให้ดูใหญ่ ด้วยเทคนิคพิเศษ

เทคนิคการเจียระไนเพชร

การเจียระไนเพชรมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เพชรได้สัดส่วนที่เหมาะสม สวยงาม และเปล่งประกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเพชรที่เล่นไฟ หรือมีประกายสวยงาม อาจเป็นเพชรที่มีกะรัตน้อย หรือขนาดที่เล็กก็ได้ เนื่องจากเพชรที่มีกะรัต หรือขนาดที่ใหญ่กว่า ไม่ได้แปลว่าจะสวย หรือเปล่งประกายมากกว่า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเจียระไนเพชร หากการเจียระไนเพชรใช้เทคนิคเจียระไนเหลี่ยมมุมของเพชรเป็นจำนวนมาก และมีความซับซ้อน ก็ยิ่งทำให้เพชรนั้นมีประกายแวววาว และสวยงามมากขึ้นนั่นเอง

การเจียระไนเพชรมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมากที่สุด คือ Brilliant Cut สำหรับเพชรทรงกลม หรือในบางครั้งเรียกว่า เพชรทรงเกสรมาตรฐาน โดยการเจียระไนในลักษณะที่สมบูรณ์แบบต้องทำให้เพชรมีทั้งหมด 57-58 เหลี่ยม เพื่อให้เพชรส่องประกายแวววาวได้เต็มที่ การเจียระไนแบบ Brilliant Cut จึงกลายเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

สำหรับการเจียระไนเพชรรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพชรทรงกลม เช่น เพชรสี่เหลี่ยม เพชรรูปหัวใจ เพชรรูปไข่ เพชร Emerald หรือเพชร Princess อาจมีความแวววาว หรือการส่องประกายของเพชรน้อยกว่าเพชรทรงกลมที่เจียระไนแบบ Brilliant Cut อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกใช้เทคนิคการเพิ่ม Halo หรือเพชรล้อมเข้าไปเพื่อพรางตาให้รู้สึกว่าเป็นเพชรเม็ดเต็มที่มีประกายสวยงามได้ด้วยเช่นกัน  

เทคนิคการวางตำแหน่ง และการฝังเพชร

นอกจากการเลือกจากวิธีการเจียระไนเพชรแล้ว ยังสามารถเลือกจากเทคนิคในการวางตำแหน่ง และการฝังเพชรลงบนตัวเรือนของเครื่องประดับ สำหรับการวางตำแหน่งเพชรบนแหวนให้เลือกแบบที่เป็นเพชรเม็ดกลาง (Center Stone) เพื่อให้เพชรดึงดูดให้คนสนใจได้ง่าย ส่วนการฝังเพชรบนตัวแหวนมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบดังนี้

  1. การฝังแบบหนามเตย (Prong Setting) ถือเป็นรูปแบบการฝังเพชรที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และใช้กับดีไซน์แหวนที่เป็นเพชรเม็ดเดี่ยว โดยเพชรจะถูกยึดอยู่จุดกึ่งกลางด้วยก้านโลหะ ทำให้เพชรดูมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะไม่ถูกหุ้มด้วยโลหะ แต่อาจต้องระวังในการใช้งาน เพราะเพชรอาจหลวม และหลุดจากก้านโลหะที่ยึดเอาไว้ได้

  2. การฝังแบบเพชรล้อม (Halo Setting) คือการนำเพชรเม็ดเล็กๆ มาล้อมรอบเพชรเม็ดใหญ่ตรงกลาง ช่วยเพิ่มประกายแสงทำให้เพชรดูมีขนาดใหญ่มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่อยากประหยัดเงินในการซื้อแหวนเพชรเม็ดใหญ่เม็ดเดียว แต่ต้องระวังการหลุดหล่นหายของเพชรเล็กๆ ที่ล้อมอยู่โดยรอบด้วยเช่นกัน หากกระบวนการผลิตเครื่องประดับไม่มีคุณภาพมากพอ

เทคนิคการเลือกวัสดุตัวเรือนของเครื่องประดับ

สุดท้ายคือส่วนของตัวเรือนเครื่องประดับที่ต้องเลือกวัสดุคุณภาพดี เพื่อช่วยเสริมความงามให้กับเพชร โดยเลือกใช้ตัวเรือนเป็นทองคำแท้ 18K สีทอง หรือสีขาว เพราะเป็นสีที่เรียบง่าย แต่ให้ความหรูหรา และเข้ากันได้ดีกับความงดงามของเพชร อย่างเช่น แหวนเพชรเม็ดเดี่ยว LEVA COLLECTION (DVUL275) ที่แม้ว่าจะใช้เพชรน้ำหนักโดยรวม 0.2 กะรัต แต่ด้วยดีไซน์เพชรที่เป็นเพชรเม็ดกลางเม็ดเดี่ยว มีเทคนิคการฝังที่ชูให้เพชรบนแหวนมีความโดดเด่น สะดุดสายตา พร้อมด้วยตัวเรือนแหวนที่ผลิตจากวัสดุทองคำแท้ มีให้เลือกทั้งแบบสีขาว (White Gold) และสีเหลือง (Yellow Gold) ซึ่งเป็นสีที่ไม่กลบประกายของเพชร
 

อย่าลืมคำนึงถึงขนาดแหวนด้วย

ขนาดของเครื่องประดับมีส่วนสำคัญต่อขนาดของเพชรได้เช่นกัน ถ้าตัวเรือนของเครื่องประดับมีขนาดใหญ่ อาจทำให้ความโดดเด่นของเพชรบนเครื่องประดับดูลดน้อยลงได้ เช่นเดียวกับแหวน ถ้ามีตัวเรือนของแหวนที่ใหญ่ หรือหนาเกินไป มีลวดลายมากมาย ก็อาจทำให้การใช้เพชรขนาดเล็กดูกลืนไปกับตัวเรือนของแหวน 

นอกจากนี้ ยังควรเลือกขนาดของเครื่องประดับให้เข้ากับรูปร่างของคนที่สวมใส่ โดยเฉพาะเครื่องประดับแหวนเพชรที่ควรมีการเลือกขนาดของแหวนให้สัมพันธ์กับขนาดของนิ้ว สำหรับคนที่มีมือใหญ่ และมีนิ้วเรียวก็จะได้เปรียบกว่าคนอื่นในการเลือกแหวน เนื่องจากสามารถใส่แหวนได้ออกมาดูสวยในทุกขนาด และทุกดีไซน์ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีนิ้วเล็ก หรือนิ้วยาวที่มีความผอมบางเกินไป จำเป็นต้องเลือกแหวนที่มีขนาดเล็กพอดีกับนิ้ว และมือ โดยทั่วไปมักไม่ค่อยนิยมเลือกแหวนเพชรเม็ดใหญ่ เพราะอาจทำให้นิ้ว และมือดูผิดสัดส่วนได้ ใส่แล้วดูใหญ่ ดูหนาเทอะทะไม่สวยงาม ดังนั้น จึงควรเลือกแหวนที่มีลูกเล่นมากขึ้น เพื่อช่วยพรางความผอมบางของนิ้วคุณ

ตัวอย่างเช่น  แหวนเพชร Minimal Collection (DVON001) ที่เน้นดีไซน์แบบมินิมอล เรียบง่าย ตัวเรือนแหวนแบบเล็กและบาง แต่มีลูกเล่นเป็นเส้นโค้งที่โอบรอบนิ้วมือของคุณ ในขณะเดียวกันก็ใช้หัวแหวนเป็นเพชร 3 เม็ด น้ำหนักโดยรวม 0.09 กะรัต จึงช่วยเสริมให้นิ้วของคุณดูเต็มสวย ด้วยดีไซน์ของแหวนที่ทันสมัย สามารถนำไป Mix & Match ใส่ควบคู่กับแหวนอีกหลายวงได้ อีกทั้งยังเข้าได้กับลุคการแต่งกายทั่วไปในชีวิตประจำวัน
 

สรุป

เชื่อว่าหลายคนคงรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับกะรัตเพชร หรือหน่วยวัดน้ำหนักของเพชรกันมากขึ้น  เพราะกะรัตเพชรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยวัดคุณภาพของเพชร ในหลัก 4C เพราะกะรัตเพชรไม่ได้หมายถึงขนาดของเพชรเสมอไป ดังนั้น การเลือกแหวนเพชร หรือเครื่องประดับเพชรใดๆ ก็อาจไม่จำเป็นต้องเลือกเพชรที่มีกะรัตมากอย่างเดียว เนื่องการที่เพชรมีกะรัตมาก ราคาของเพชรก็อาจสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การเลือกเพชรเพื่อช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับคุณ ไม่ต้องเลือกขนาดใหญ่เสมอไป แต่อาจเลือกขนาดที่เล็กลง โดยเน้นดีไซน์ที่เหมาะสมกับบุคลิกของคุณ ก็จะทำให้คุณดูสวยสะดุดตาได้ไม่ยาก อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบ ลดค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับผู

tags

Facebook Messenger
Line